วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

  การไทเทรตหาความสามารถในการลดกรดของยาลดกรด

ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการผลิตยาลดกรดออกมาหลายยี่ห้อซึ่งมีส่วนประกอบของสารในยาลดกรดหลายประเภท เช่น  คาร์บอเนต  ไฮดรอกไซด์  ไฮโดรเจนคาร์บอเนตและซิลิเกต  โดยส่วนมากแล้วยาในแต่ละยี่ห้ออาจจะมีประสิทธิภาพในการลดกรดแตกต่างกัน ดังนั้นจากความรู้เรื่องการไทเทรตเราจึงได้ทำการทดลองความสามารถของยาลดกรดโดยเราจะเลือกมาเพียงแค่ตัวยาที่มีส่วนประกอบของสารประเภทคาร์บอเนตและไฮดรอกไซด์เท่านั้นเพื่อทดสอบว่าในยาลดกรดทั้งสองชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการลดกรดมากน้อยเพียงใดและเพื่อเปรียบเทียบว่ายาลดกรดชนิดใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพื่อเป็นผลในการเลือกซื้อยาลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดประสงค์ของการทดลอง
1.เพื่อศึกษาชนิดของสารเคมีที่ส่งผลต่อการสะเทินกรดภายในกระเพาะอาหาร
            2.เพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาเคมีที่ได้ในสารประกอบแต่ละชนิดในยาลกกรด

สมมติฐาน
            ยาลดกรดแต่ละชนิดมีความสามารถในการลดกรดที่แตกต่างกัน

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น               - ยาลดกรดชนิด A
                                 - ยาลดกรดชนิด B
ตัวแปรตาม             - ความสามารถในการลดกรดของยาลด
                                 - กรดทั้งสองชนิด
ตัวแปรควบคุม        - ปริมาณของยาลดกรด

         - ปริมาณของสารละลาย HCl / NaOH
                                 - ปริมาณของอินดิเคเตอร์

ขอบเขตการศึกษา
- ยาลดกรดที่วางจำหน่ายทั่วไปในร้านขายยาในอำเภอย่านตาขาว

วัสดุอุปกรณ์
1. เครื่องชั่ง
2. ยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
3. สารละลายมาตรฐาน  HCl 0.2 mol/l
4. สารละลายฟีนอล์ฟธาลีน
5. บิวเรตต์
6. น้ำกลั่น
7. ขวดรูปชมพู่
8. ปิเปตต์
9. สารละลายมาตรฐาน NaOH 0.2 mol/l
10. ขาตั้งบิวเรตต์
11. แท่งแก้วคน
12. กรวยแก้ว
13. หลอดหยด
14. กระดาษกรอง
15. ขวดวัดปริมาตร
16. ตะเกียงแอลกอฮอล์

วิธีการทดลอง
1. นำยาลดกรดชนิดเม็ดบดละเอียด 1 กรัม ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. เติมน้ำกลั่นในบีกเกอร์ จำนวน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
คนให้ทั่ว
3. เติมสารละลาย HCl เข้มข้น 1.0 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร

ครั้งละ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง  จนกระทั่งไม่มีฟองแก๊สเกิดขึ้น เติมสารละลาย HCl 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่า บันทึกปริมาตรของ HCl ที่ใช้หมดไป
4. อุ่นสารผสมในข้อ 3 ให้ร้อนเป็นเวลา 1 นาที กรองด้วยกระดาษกรอง ล้างบีกเกอร์ด้วยน้ำกลั่น 2 - 3 ครั้ง
5. รินของเหลวที่กรองได้ลงในขวดวัดปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ชะล้างบีกเกอร์ด้วยน้ำกลั่น 2 - 3 ครั้ง จากนั้นเทสารรวมกันลงในขวดวัดปริมาตร  เติมจนถึงขีดมาตรฐาน ปิดจุกพลิกคว่ำ - หงาย เพื่อให้สารละลายผสมกัน   
6. ปิเปตสารละลายในข้อ 5 มา 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร  ใส่ในขวดรูปกรวย หยดเมทิลออเรนจ์เป็นอินเคเตอร์ สังเกตสี นำมาไทเทรตด้วยสารละลาย  NaOH เข้มข้น 0.1 โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร บันทึกปริมาตรของ NaOH ที่เกิดปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายในข้อ 5
7. ทำการทดลองซ้ำในข้อ 6 จนได้ผลใกล้เคียงกัน  มีปริมาตรต่างกันไม่เกิน 0.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากนั้นหาปริมาตรเฉลี่ยของ NaOH ที่ใช้

ผลการทดลอง


ชนิดของยาลดกรด
ปริมาตร NaOH ที่ใช้ไปในการทดลอง( cm 3  )

เฉลี่ย
( cm 3  )
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
ครั้งที่ 3
1. ยาชนิด A 
   (คาร์บอเนต)
0.65

0.6

0.7

0.65

2. ยาชนิด B
    (ไฮดรอก -     ไซด์)
0.35

0.4

0.4

0.38


ความสามารถในการลดกรดของยาชนิด A
1. ปริมาตร  NaOH ที่ใช้ในการไทเทรตเฉลี่ย   0.65 cm 3
2. สารละลายกรดที่ใช้ทำปฏิกิริยากับยาลดกรดมีปริมาณ 50 - 0.65   49.35 cm 3
3. คิดเป็นโมลของกรดที่ใช้ไป  0.1 × 49.35 × 0.001 = 0.004935 mole                      
เพราะฉะนั้นยาลดกรดมีความสามารถในการลดกรด
0.004935 mole/g

ความสามารถในการลดกรดของยาชนิด B
1. ปริมาณ  NaOH ที่ใช้ในการไทเทรต เฉลี่ย0.38 cm 3
2. สารละลายกรดที่ใช้ทำปฏิกิริยากับยาลดกรดมีปริมาณ 50 - 0.38 =  49.62 cm 3
3. คิดเป็นโมลของกรดที่ใช้ไป 0.1 × 49.62 × 0.001 = 0.004962 mole
เพราะฉะนั้นยาลดกรดมีความสามารถในการลดกรด
0.005 mole/g

สรุปผลการทดลอง 
จากการทดลองพบว่ายาลดกรดชนิด B มีประสิทธิในการลดกรดได้ดีกว่ายาลดกรดชนิด A

ยาลดกรดประเภทคาร์บอเนต
ยาลดกรดชนิดที่มี CaCO3 เป็นองค์ประกอบเมื่อเติมสารละลายกรด HCl ลงไปจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้
CaCO3 (s) + 2 HCl (aq)               CaCl2 (aq) + H2O (l) + CO2 (g)

ยาลดกรดประเภทไฮดรอกไซด์
ยาลดกรดชนิดที่มี  Mg (OH) 2 เป็นองค์ประกอบเมื่อเติมสารละลายกรด HCl ลงไปจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้
Mg (OH) 2 (s) + 2HCl (aq)            MgCl2 (aq) + H2O (l)

ข้อเสนอแนะ
นอกจากเราจะนำการไทเทรตมาใช้ในการหาความสามารถของยาลดกรดแล้วยังนำมาใช้ในการหาปริมาณไนโตรเจนในดิน  การหาคลอไรด์ในน้ำ เป็นต้น

จัดทำโดย
1. นายวีระยุทธ                 เที่ยงธรรม
2. นางสาวนุชนาท           ช่วยหวัง
3. นางสาวธัญญารัตน์      กี่สุ้น   
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น